นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ นำทัพจับมือกับ 7 ภาคีเครือข่าย รวม 72 หน่วยงาน ร่วมผลิตและพัฒนาบุคลากร รองรับอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ นำทัพจับมือกับ 7 ภาคีเครือข่าย รวม 72 หน่วยงาน ร่วมผลิตและพัฒนาบุคลากร รองรับอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย

 

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารสโมสรและหอประชุม กระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง” เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง 7 ภาคีเครือข่ายรวม 72 หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบรางในการสนับสนุนส่งเสริมและใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบรางในด้านต่างๆ
 
 
โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคมและนายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายนิรุฒ มณีพันธ์ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม ดร.กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติผู้แทน
จากภาคีเครือข่ายและสื่อมวลชนร่วมงาน
 
 
สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย โดยนาย เกียรติศักดิ์ จิระขจรวงศ์ นายกสมาคมฯ ได้เป็นผู้แทนของสมาคมฯ ร่วมลงนามบันทึก ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฯ (MOU) ในครั้งนี้ โดยมีนายวีระชัย ตรีพรเจริญ ประธานคลัสเตอร์อุตสาหกรรมระบบราง เข้าร่วมพิธีเป็นศักขีพยานในครั้งนี้ด้วย
 
 
การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ จึงนับเป็น “ก้าวสำคัญ” สู่การพัฒนาด้านระบบรางของไทยอย่างยั่งยืน ในการผลิตและพัฒนาบุคลากร การสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรม การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ ผ่านความร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีความร่วมมือทางวิชาการ โดยมีหน่วยงานที่ร่วมผนึกกำลังกันมากเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมยินดี และจะเป็น “ต้นแบบ” ของความร่วมมือทางด้านวิชาการที่สามารถนำไปต่อยอด กับการคมนาคมขนส่งในทุกมิติอันจะช่วยให้งานวิชาการของไทยในด้านการคมนาคมขนส่งก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
 
ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านระบบรางของไทยในอนาคตก้าวหน้าและพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งจะสนับสนุนให้บุคลากรด้านระบบรางของไทยมีศักยภาพ สามารถสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ ด้านระบบรางไปสู่การปฏิบัติเพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทยในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
 
 
โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง” (MOU) ฉบับนี้คือ
1) การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง
2) การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และการฝึกอบรมด้านระบบรางร่วมกันและร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3) การวิจัยและพัฒนา การคิดค้นนวัตกรรมด้านระบบราง
4) การแลกเปลี่ยนถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งในประเทศและต่างประเทศด้านระบบราง
5) การสนับสนุนวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้
6) การทดลอง การทดสอบ และการรับรองผลการทดสอบตามมาตรฐาน
7) การจัดทำมาตรฐานด้านระบบราง และมาตรฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งทางราง
8) การส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตขบวนรถ ชิ้นส่วนและวัสดุอุปกรณ์ระบบรางภายในประเทศ 
ทดแทนการนำเข้า
 
 
 
ช่องทางการติดต่อสมาคมไทยซับคอน
Tel : 02-713-6540-1
ID Line : @thaisubcon , https://lin.ee/6HsM4Ef 

 

Visitors: 203,790