Thai Subcon จัดพิธีรับมอบหุ่นยนต์เชื่อมโลหะให้กับ MARA

สมาคม Thai Subcon และสถาบัน MARA ยกระดับความร่วมมือเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านออโตเมชั่นและ หุ่นยนต์ ตอบรับเป้าหมายกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในการขับเคลื่อนทักษะแรงงานสมองกล ฝึกเทคโนโลยี ชั้นสูง สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน รองรับ EEC ปี 2564 จำนวนกว่า 5,000 คน

จากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในปี 2561 อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรง จึงได้ลงนามคำสั่งจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยี การผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินการยกระดับทักษะฝีมือแรงงานให้ เป็นแรงงานคุณภาพ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีชั้นสูงและนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้ในการทำงาน เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และสร้างโอกาสในการแข่งขันให้สูงขึ้น โดยมุ่งเน้นป้อนแรงงานให้แก่กลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบกิจการที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ในปี 2563 นี้ ในส่วนของ กพร. ได้ดำเนินการภายใต้แผนพัฒนากำลังคนของคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) ขับเคลื่อนโดย MARA สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) และ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน (สนพ.) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ฝึกทักษะให้แก่แรงงานใน โครงการพัฒนาทักษะกำลังแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป้าหมาย 6,400 คน ดำเนินการแล้ว 6,370 คน และในปี 2564 เป้าหมาย 5,440 คน ซึ่งเน้นด้านเทคโนโลยีชั้นสูง ทั้งนี้มุ่งเน้น Upskill Reskill และ New skill กลุ่มเป้าหมายบุคคลทั่วไป นักศึกษาจบใหม่ แรงงานในระบบ และผู้ว่างงานที่มีทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับ งานช่างฝีมือ ผู้เข้ารับการฝึกจะได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานให้มีทักษะสูงขึ้นรวมถึง เน้นทักษะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ

หน่วยงาน กพร. ในเขต EEC ซึ่งประกอบด้วยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 17 ระยอง สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานฉะเชิงเทรา และสถาบันพัฒนาบุคลกรสาขาเทคโนโลยีการผลิต อัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) ได้ร่วมกับสถานประกอบกิจการดำเนินการจัดทำหลักสูตรและผานการอนุมัติจาก สกพอ. แล้ว 21 หลักสูตร และในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนที่ผ่านมา ได้ดำเนินจัดฝึกอบรมจำนวน 9 หลักสูตร 11 รุ่น ระยะเวลาการฝึกอบรม 30 ชั่วโมง เช่น สาขาการซ่อมบำรุงและแก้ไขปัญหาเครื่องปรับอากาศใน อุตสาหกรรมการผลิต สาขาการตรวจสอบงานเชื่อมชิ้นส่วนยานยนต์ สาขาการควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม WELDEX ด้วยโปรแกรม CRP และ LNC สาขาช่างควบคุมเครื่องกลึง CNC ระดับ 1 เป็นต้น มีผู้ผ่านการฝึกอบรม จำนวน 158 คน สำหรับในปี 2564 เป้าหมายดำเนินการฝึกอบรมอีกจำนวน 400 คน

สืบเนื่องจาก MARA ในปัจจุบันนั้น ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรประกอบการอบรมที่มีราคาค่อนข้างสูง จึง เหมาะกับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สามารถลงทุนซื้อเครื่องจักรเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตของ บริษัทตนได้ทำให้กลุ่มผู้เข้าอบรมที่เป็น SMEs รายย่อย หลังจากอบรมกับสถาบัน MARA แล้ว ไม่สามารถจัดหา เครื่องจักรอุปกรณ์แบบที่ใช้ในการอบรมกับสถาบัน กลับไปใช้ประโยชน์ที่สถานประกอบการของตนเองได้องค์ความรู้ที่ได้รับจึงไม่สามารถนำไปกับพัฒนากระบวนการผลิตในโรงงานของตนเองได้อย่างเต็มร้อย สมาคม Thai Subcon ซึ่งมีสมาชิกเป็นโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมขนาด SMEs จำนวนกว่า 500 บริษัท และสมาชิก บางส่วนอยู่ในพื้นที่ EEC ยิ่งไปกว่านั้นใน Thai Subcon ก็มีการขับเคลื่อนกลุ่มสมาชิกในคลัสเตอร์ระบบอัตโนมัติ เพื่อการอุตสาหกรรมของสมาคมฯ เราจึงตระหนักดีว่าความต้องการของ SMEs โดยเฉพาะจากสมาชิกในกลุ่มคลัสเตอร์มีความต้องการอย่างไร ความสำคัญของเครื่องจักรที่ใช้ในการอบรมจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญ ที่จะทำให้ผู้ประกอบการไทยเข้าถึง และตัดสินใจนำเอาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปใช้ประโยชน์ต่อยอดเทคโนโลยีการผลิต ในโรงงาน ให้ทันสมัยและมีคุณภาพเท่าเทียมหรือเหนือกว่าประเทศอื่น ๆ ได้ การฝึกอบรม ความทุ่มเทจากสถาบัน MARA ก็จะบรรลุผลทำให้การอบรมและความมุ่งมั่นที่จะช่วยพัฒนาผู้ประกอบการไทย สำเร็จลุล่วงได้ ผลลัพธ์เต็ม ประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์กับทั้งสมาชิกสมาคม Thai Subcon และผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่ใกล้เคียงอีก ด้วย

ในการนี้ วันที่ 23 พฤศจิกายนนี้ สมาคม Thai Subcon โดยนายเกียรติศักดิ์ จิระขจรวงศ์ นายกสมาคม จึงได้มอบหุ่นยนต์เชื่อมโลหะ WELDEX รุ่น W-14iE พร้อมอุปกรณ์ครบชุดจากบริษัท เวลเด็กซ์ จำกัด ซึ่งเป็น บริษัทสมาชิกในคลัสเตอร์ระบบอัตโนมัติพื่อการอุตสาหกรรมของสมาคม ส่งมอบให้กับสถาบัน MARA โดยมีอธิบดี กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายธวัช เบญจาทิกุล เป็นตัวแทนสถาบันในการรับมอบครั้งนี้

อนึ่งหุ่นยนต์เชื่อมโลหะ WELDEX รุ่น W-14iE นั้น เป็นหุ่นยนต์เชื่อมประเภทมิก ขนาด 1.4 เมตร เหมาะสำหรับงานเชื่อมโลหะประเภทเหล็กและสเตนเลส สร้างและพัฒนาให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และชิ้นส่วนที่เกี่ยวเนื่อง สามารถเชื่อมงานได้ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ใช้ระบบ ควบคุมจากประเทศไต้หวัน มีระบบรองรับ Factory 4.0 ได้ในอนาคต 

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

 



ช่องทางการติดต่อสมาคมไทยซับคอน

Facebook : https://www.facebook.com/thaisubconassociation/ 
Tel : 02-713-6540-1
ID Line : @thaisubcon , https://lin.ee/6HsM4Ef 

Visitors: 203,803