คลัสเตอร์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (Defense Cluster)
´ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (Defense Cluster) จัดกิจกรรม “สัมมนาติดอาวุธให้ Thai Subcon สู่ความเป็นหนึ่งด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ” ในงานนิทรรศการแสดงสินค้า SUBCON THAILAND 2019 ในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2562 เวลา 13.00-15.00 น. ณ เวทีกิจกรรมของสมาคม Hall99 โดยได้รับเกียรติจาก พ.อ.ดร.อำพันธ์ จันทร์เพ็งเพ็ญ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ และน.ต.ดร.บดินทร์ สันทัด นักวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ร่วมบรรยายถึงโอกาสและการมีส่วนร่วมของสมาชิกสมาคม ThaiSubcon กับระบบอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตามแผนปฏิบัติการ ดังนี้
1. ระยะที่ 1 (พ.ศ.2562-2565) ปฏิรูป
1.1
ศึกษาแนวทางการจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(EEC)
1.2 ศึกษาแนวทางและจัดตั้งหน่วยธุรกิจ หรือ Business Unit สำหรับโครงการนำร่องที่มีศักยภาพในการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนทั้งในและนอกพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษตะวันออก
(EEC)
1.3 ต่อยอดผลงานวิจัยและพัฒนา หรือผลิตภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม เหล่าทัพ หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน ที่มีศักยภาพหรือขีดความสามารถ ให้สามารถดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ ตามลำดับความเร่งด่วนที่กำหนด
2. ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) ส่งเสริมความเข้มแข็ง
2.1
จัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(EEC)
โดยจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น
2.2 จัดตั้งหน่วยธุรกิจ หรือ Business Unit โดยการร่วมทุนกับเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศ
ทั้งในและนอกพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษตะวันออก (EEC) สำหรับโครงการตามแผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่มีศักยภาพและขีดความสามารถในการดำเนินการ
โดยมุ่งเน้นการร่วมทุนกับเอกชนที่ขึ้นบัญชีผู้ประกอบการ
และเป็นการดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานภายในประเทศ
2.3
ศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนกับภาคเอกชนเพื่อขยายฐานการผลิตออกไปสู่ภูมิภาคหรือต่างประเทศสำหรับกิจการที่มีศักยภาพและขีดความสามารถในการดำเนินการ
3. ระยะที่ 3 (พ.ศ.2571-2575) ส่งผ่านสู่เอกชน
3.1 สถาบันลดสัดส่วนการลงทุนหรือถอนการลงทุนในหน่วยธุรกิจ
หรือ Business
Unit ตามเงื่อนไขที่สถาบันกำหนด
ทั้งนี้ต้องพิจารณาไม่ให้เกิดผลกระทบหรือความต่อเนื่องของการดำเนินกิจการด้วย
3.2 ร่วมทุนกับภาคเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อขยายฐานการผลิตหรือส่งออกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศออกไปสู่ภูมิภาคหรือต่างประเทศ
ทั้งนี้
อาจจัดตั้งหน่วยธุรกิจ หรือ Business Unit หรือแต่งตั้งผู้แทนสำหรับกิจการที่มีศักยภาพและขีดความสามารถในการดำเนินการ
โดยยังคงมุ่งเน้นการดำเนินการร่วมกับเอกชนที่ขึ้นบัญชีผู้ประกอบการ
4. ระยะที่ 4 (พ.ศ.2576-2580) เกิดความยั่งยืน
4.1
ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการสนับสนุนให้กระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพสามารถพึ่งพาตนเองด้านยุทโธปกรณ์ได้
ทั้งในยามปกติและยามสงคราม